ยางรั่ว ยางแบน ขับรถต่อได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

รถยนต์ยางรั่ว ยางแบน เป็นสถานการณ์ไม่คาดฝันที่สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน ถึงแม้ว่าผู้ขับขี่จะระมัดระวังเป็นอย่างดีแล้ว เนื่องจากมีหลายปัจจัยที่อาจเกิดยางรั่วขึ้นได้ ทำให้ผู้ขับขี่ต้องเสียเวลาหาที่ปะยางฉุกเฉินและต้องเสียค่าใช้จ่ายเองด้วย หากไม่ได้ทำประกันรถยนต์ติดไว้ ทั้งนี้ การขับรถต่อไปในสถานการณ์ที่เกิดยางรั่วนั้นอันตรายมากกว่าที่หลายคนคิด ดังนั้นมาดูวิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาอย่างถูกวิธีกันดีกว่า เพื่อที่จะทำให้ทุกการเดินทางของคุณปลอดภัยและราบรื่นมากยิ่งขึ้น

ยางรั่ว ยางแบน ขับรถต่อได้ไหม อันตรายหรือเปล่า

สาเหตุที่รถเกิดยางรั่วมีอะไรได้บ้าง และมีวิธีป้องกันอย่างไร

การเกิดยางรั่วของรถยนต์สามารถเกิดได้จากปัจจัยภายนอกและภายใน ได้แก่

  • ยางรั่วจากวัตถุแหลมคม เช่น ตะปู เศษเหล็ก แก้ว กระจก และอื่นๆ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ผู้ขับขี่ประสบปัญหาบ่อยครั้งในขณะเดินทาง
  • ยางถูกกระแทกหรือเสียดสี จากการขับขี่บนถนนที่มีความขรุขระหรือมีการซ่อมแซม การขับรถชนขอบ ชนฟุตบาท ก็ส่งผลให้ยางรั่วหรือแตกได้
  • ยางมีรอยรั่วซึมจากรอยต่อ โดยเฉพาะบริเวณระหว่างยางรถกับขอบล้อ ทำให้เกิดรอยรั่วซึมและเสียหาย
  • ยางเก่าหรือหมดอายุการใช้งาน จะมีการเสื่อมสภาพและเปราะบางไปตามการเวลา ซึ่งจะมีโอกาสที่จะเกิดการรั่วซึมได้ง่ายมากกว่าปกติ ซึ่งไม่สามารถแก้ปัญหาด้วยการปะยางชั่วคราวได้

ซื้อประกันรถยนต์กับ Pocket คุ้มค่าสุดๆ


วิธีป้องกันยางรั่วนั้นมีหลากหลายวิธี สามารถทำได้ดังนี้

  1. ตรวจสอบสภาพยางรถเป็นประจำ ควรตรวจสอบสภาพยางก่อนออกเดินทางทุกครั้ง และตรวจสอบอย่างละเอียดทุกๆ เดือน โดยให้สังเกตดูว่ามีรอยแตกร้าว รอยปริ หรือรอยรั่วซึมทั้ง 4 ล้อหรือไม่ หากพบรอยผิดปกติเพียงเล็กน้อยก็ควรรีบนำรถเข้าอู่หรือศูนย์ทันที เพื่อตรวจสอบและซ่อมแซม
  2. เติมลมยางให้เหมาะสม ควรเติมลมยางให้เหมาะสมตามคู่มือรถแต่ละรุ่นที่เราขับขี่ เพราะจะช่วยให้ยางใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพและลดความเสี่ยงในการเกิดยางรั่ว
  3. หลีกเลี่ยงการขับขี่บนถนนขรุขระ หรือเส้นทางที่อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ซ่อมแซม เพราะมีเศษวัตถุแหลมคมและอุปกรณ์ต่างๆ อยู่บริเวณนั้นจำนวนมาก 
  4. หลีกเลี่ยงการเหยียบเบรกกะทันหัน เพราะแรงเสียดสีที่สูง จะทำให้ยางเสียหายได้
  5. ใช้น้ำยาป้องกันยางรั่ว แต่วิธีนี้เป็นเพียงวิธีแก้ปัญหาชั่วคราวเช่นเดียวกับการปะยางเท่านั้น จึงไม่แนะนำหากต้องขับขี่ในระยะทางที่ไกลหรือขับด้วยความเร็วสูง
  6. เลือกซื้อยางที่มีคุณภาพ ใช้ยี่ห้อที่ได้มาตรฐานตามคำแนะนำจากช่างผู้เชี่ยวชาญโดยเฉพาะ และควรเปลี่ยนยางเมื่อหมดอายุการใช้งานแล้ว

หากขับรถต่อไปในสภาพยางรั่วหรือแบน จะเกิดอันตรายอะไรบ้าง

ในการขับรถต่อทั้งที่สภาพยางรั่วหรือแบนนั้นถือเป็นสิ่งอันตรายอย่างยิ่ง เนื่องจากจะทำให้รถสูญเสียการทรงตัวและควบคุมทิศทางได้ยากมากขึ้น ซึ่งก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่ายขึ้นตามไปด้วย โดยอันตรายที่มักเกิดขึ้นนั้น มีดังต่อไปนี้

  • ยางอาจระเบิดขณะขับรถ ยางที่รั่วหรือแบนเป็นเวลานาน ส่งผลให้ยางระเบิดได้ในขณะขับรถ
  • ล้อรถอาจหลุดออกจากตัวรถ ในกรณีที่ยางรถรั่วหรือแบนอย่างรุนแรง 
  • รถอาจเสียหลักและพลิกคว่ำ เมื่อยางรั่วหรือแบน น้ำหนักของรถจะกระจายไม่สม่ำเสมอกัน ทำให้รถเกิดการเสียหลักหรือพลิกคว่ำได้ง่ายขึ้นกว่าปกติ
  • ชิ้นส่วนอื่นของรถเสียหายมากขึ้น สภาพรถที่ยางรั่วหรือแบน อาจส่งผลกระทบไปถึงชิ้นส่วนอื่นๆ ในขณะขับขี่ ทั้งล้อรถ โครงรถ ใต้ท้องรถ และอื่นๆ ที่สามารถกระเทือนไปถึงได้

หากพบว่ายางรั่วขณะขับขี่ ควรปฏิบัติอย่างไรถึงปลอดภัยที่สุด

  1. ตั้งสติให้มั่น เป็นสิ่งแรกที่ผู้ขับขี่ทุกคนควรทำเมื่อพบว่ายางรั่ว เพราะอาจจะทำให้ควบคุมรถได้ยากมากขึ้น
  2. ค่อยๆ เหยียบเบรกช้าๆ เพื่อลดความเร็วลงและควรทำอย่างนุ่มนวลที่สุด ไม่ควรเหยียบเบรกกะทันหัน เพราะอาจทำให้รถเสียการทรงตัวได้
  3. เปลี่ยนเป็นเกียร์ต่ำ เพื่อรักษาความเร็วให้คงที่ ซึ่งจะช่วยให้รถทรงตัวได้ดีขึ้น
  4. หาทางจอดรถในที่ปลอดภัย หลังจากประคองรถขับขี่ไปได้สักระยะ ระหว่างนั้นควรมองหาทางจอดรถในที่ปลอดภัยไปด้วย ซึ่งควรเป็นบริเวณที่รถสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและไม่มีรถสัญจรไปมา
  5. ติดต่อขอความช่วยเหลือ จากเจ้าหน้าที่ตำรวจและบริษัทประกันรถยนต์เพื่อรับเรื่องและแก้ปัญหาที่จุดเกิดเหตุ

สำหรับประกันรถยนต์จาก Pocket by LMG หากรถเกิดยางรั่ว ยางแตก ยางแบน แบตหมด หรือสถานการณ์ฉุกเฉินอื่นๆ สามารถโทร 1790 เพื่อรับบริการช่วยเหลือฉุกเฉินได้ตลอด 24 ชม. ฟรีทันที ไม่ต้องเสียเวลาหาร้านปะยางเองให้วุ่นวาย เรามีผู้เชี่ยวชาญ อู่และศูนย์ซ่อมที่ได้มาตรฐานกว่า 1,800 แห่งทั่วประเทศ รวมถึงมีอู่ LMG Exclusive Garage มากกว่า 50 แห่งทั่วประเทศพร้อมดูแลคุณ เพียงซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 กับเรา สมัครเพื่อรับสิทธิพิเศษและดูเงื่อนไขเพิ่มเติมได้ที่ www.pocketbylmg.com/roadside-assistance

รับฟรีโค้ดเติมน้ำมัน

ปรึกษาพร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพียงฝากข้อมูลของคุณด้านล่าง