การก่อสร้างบนท้องถนนย่อมเกิดขึ้นตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นการซ่อมแซมพื้นถนน ต่อเติม หรือสิ่งปลูกสร้างเพิ่มเติม จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ใช้รถใช้ถนนจะขับรถชนเขตก่อสร้าง ซึ่งหลายคนสงสัยว่า อุบัติเหตุที่เกิดขึ้นในบริเวณเขตก่อสร้างใครควรเป็นผู้รับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นกรณีขับรถชนเขตก่อสร้างโดยความประมาท หรือด้วยความความประมาทของรับเหมาจุดก่อสร้างเอง
การมีความรู้และดำเนินการอย่างถูกต้องเป็นสิ่งสำคัญ ดังนั้นเพื่อป้องกันการถูกเอาเปรียบ หรือเกิดปัญหาขึ้นในภายหลัง Pocket จะมาช่วยตอบทุกข้อสงสงสัยและแนะวิธีการจัดการอย่างเหมาะสมเมื่อเกิดเหตุการณ์ดังกล่าว

ใครเป็นผู้รับผิดชอบเมื่อขับรถชนเขตก่อสร้าง?
เมื่อต้องพิจารณาความรับผิดชอบในกรณีขับรถชนเขตก่อสร้าง เบื้องต้นต้องคำนึงจากสาเหตุของอุบัติเหตุ และประกอบกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น ดังนี้
1. ผู้ขับขี่รับผิดชอบ
หากผู้ขับขี่ขาดความระมัดระวัง เช่น ขับรถเร็วเกินกำหนด หรือไม่ปฏิบัติตามป้ายเตือนในบริเวณก่อสร้าง ตัวผู้ขับขี่เองอาจต้องรับผิดชอบค่าเสียหายทั้งหมด ซึ่งรวมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ของตนเองและทรัพย์สินในพื้นที่ก่อสร้าง เช่น ป้ายก่อสร้าง หรืออุปกรณ์ที่ได้รับความเสียหาย และค่ารักษาพยาบาลของผู้ได้รับบาดเจ็บ
2. ผู้รับเหมาก่อสร้างรับผิดชอบ
ในกรณีที่มีการจัดการเขตก่อสร้างไม่เหมาะสม เช่น ไม่มีการติดตั้งป้ายเตือนชัดเจน อุปกรณ์ก่อสร้างหล่นใส่รถ หรือเขตก่อสร้างไม่ได้มีการควบคุมอย่างปลอดภัย ในกรณีนี้ ผู้รับเหมาก่อสร้างอาจต้องเป็นฝ่ายรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้น
3. ประกันรถยนต์ช่วยรับผิดชอบ
หากคุณมีประกันรถยนต์ เช่น ประกันรถยนต์ชั้น 1 ความคุ้มครองจะครอบคลุมในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ก่อสร้าง โดยจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายทั้งค่าซ่อมรถและค่าเสียหายอื่นๆ
ขับรถชนเขตก่อสร้างต้องทำอย่างไร?
แม้เป็นเหตุการณ์ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น แต่การขับรถชนเขตก่อสร้างก็สามารถเกิดขึ้นได้ โดยเฉพาะเมื่อขับขี่บนถนนที่กำลังดำเนินการก่อสร้างอยู่ ทั้งนี้เมื่อรู้ตัวว่าเราขับชนแล้ว Pocket ขอแนะนำให้ปฏิบัติดังนี้
1. ตั้งสติและตรวจสอบความปลอดภัย
อันดับแรก ให้ตรวจสอบว่าตัวคุณและผู้โดยสารปลอดภัย หากมีผู้บาดเจ็บ ให้รีบติดต่อหน่วยกู้ภัย รถพยาบาล หรือสถานพยาบาลใกล้เคียงทันที จากนั้นค่อยตรวจสอบความเสียหายทั้งของรถยนต์และเขตก่อสร้าง
2. บันทึกหลักฐาน
ถ่ายภาพที่เกิดเหตุ รวมถึงอุปกรณ์ที่เสียหาย และความเสียหายที่เกิดกับรถยนต์ ควรจดบันทึกเอาไว้ว่าขับชนจุดใดไปบ้าง เช่น ขับรถชนป้ายก่อสร้าง ขับรถชนอุปกรณ์ก่อสร้าง ฯลฯ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเคลมประกันและชี้แจงต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้เพื่อการชี้แจ้งที่ครอบคลุมที่สุด ควรบันทึกรายละเอียด เช่น ชื่อบริษัทผู้รับเหมา หรือเบอร์ติดต่อที่ผู้รับเหมาอาจมีระบุไว้ หรือติดต่อผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์ เพื่อสอบถามถึงผู้ดูแลเขตก่อสร้างนั้นๆ
3. แจ้งตำรวจ
การแจ้งตำรวจเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะเมื่อมีผู้ได้รับบาดเจ็บจากการขับรถชนเขตก่อสร้าง เพื่อจัดทำบันทึกประจำวัน และใช้เป็นเอกสารทางกฎหมายในกรณีที่มีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับความรับผิดชอบ
4. แจ้งบริษัทประกันภัย
หากคุณมีประกันรถยนต์ อันดับต่อมา คือ การติดต่อบริษัทประกันเพื่อแจ้งเหตุการณ์และขอคำแนะนำ สำหรับผู้ที่ซื้อประกันรถยนต์ชั้น 1 ก็สามารถแจ้งเคลมประกันได้ เพราะความเสียหายที่เกิดขึ้นในเขตก่อสร้างมักจะได้รับการคุ้มครองจากประกันประเภทนี้
5. ติดต่อผู้รับเหมา
หากตรวจสอบแล้วพบว่าความเสียหายเกิดจากความประมาทของผู้รับเหมา เช่น การติดตั้งอุปกรณ์ไม่ปลอดภัย หรือ อุปกรณ์ก่อสร้างหล่นใส่รถ ให้ติดต่อผู้รับเหมาเพื่อหารือเกี่ยวกับความรับผิดชอบ และไกล่เกลี่ยค่าชดเชยความเสียหายเป็นอันดับต่อไป
ประกันรถยนต์แบบไหนที่คุ้มครองกรณีชนเขตก่อสร้าง?
เมื่อเกิดเหตุการณ์แล้ว แน่นอนว่าเราอาจนึกถึงประกันของเราที่ทำเอาไว้ แต่ประกันรูปแบบใดบ้างที่คุ้มครองการชนเขตก่อสร้าง เพราะประกันแต่ละประเภทก็ย่อมให้การคุ้มครองที่แตกต่างกันไป ดังนี้
ประกันรถยนต์ชั้น 1
ประกันรถยนต์ชั้น 1 นั้นมอบความคุ้มครองทุกกรณี รวมถึงการชนป้ายก่อสร้าง อุปกรณ์ก่อสร้าง หรือความเสียหายที่เกิดขึ้นในเขตก่อสร้าง ไม่ว่าผู้ขับขี่จะเป็นฝ่ายผิดหรือไม่ ซึ่งครอบคลุมทั้งค่าซ่อมรถยนต์ และค่าความเสียหายต่อทรัพย์สินในเขตก่อสร้าง เช่น ป้ายก่อสร้างหรือเครื่องมือของผู้รับเหมา
ประกันรถยนต์ชั้น 2+
ประกันรถยนต์ชั้น 2+ จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่มีคู่กรณี เช่น ชนรถยนต์คันอื่นในเขตก่อสร้าง แต่จะไม่คุ้มครองกรณีเกิดอุบัติเหตุโดยไม่มีคู่กรณี เช่น ขับชนป้าย หรืออุปกรณ์ก่อสร้าง เป็นต้น
ประกันรถยนต์ชั้น 3+
ประกันรถยนต์ชั้น 3+ มอบความคุ้มครองเฉพาะในกรณีการขับรถชนรถยนต์คันอื่น ซึ่งไม่ครอบคลุมความเสียหายที่เกิดกับอุปกรณ์ก่อสร้าง ป้าย หรือสิ่งของต่างๆ โดยผู้ขับขี่ต้องเป็นผู้รับผิดชอบเอง
ประกันรถยนต์ชั้น 2 และ 3
โดยทั่วไป ประกันภัยรถยนต์ชั้น 2 และ ชั้น 3 จะไม่ครอบคลุมถึงความเสียหายต่อรถยนต์ของผู้เอาประกันภัย แต่จะคุ้มครองเฉพาะชีวิตและทรัพย์สินของบุคคลภายนอก ในกรณีที่ผู้เอาประกันเป็นฝ่ายผิด จึงไม่ครอบคลุมกับกรณีที่เกิดความเสียหายต่อรถหากขับรถชนเขตก่อสร้าง
จะเห็นได้ว่าประกันรถยนต์ชั้น 1 เป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกรณีขับรถชนเขตก่อสร้าง แต่ก็ไม่ได้แปลว่ารูปแบบประกันชั้นอื่นๆ จะไม่สามารถช่วยเหลือคุณได้เลย จึงควรตรวจสอบกับตัวแทนประกันหรืออ่านรายละเอียดกรมธรรม์ว่าคุ้มครองในกรณีใดบ้าง
การขับรถชนเขตก่อสร้างเป็นสถานการณ์ที่อาจเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน การจัดการที่ถูกต้องเริ่มจากการตั้งสติ บันทึกหลักฐาน และแจ้งบริษัทประกันภัย โดยเฉพาะหากคุณมีประกันรถยนต์ชั้น 1 จะช่วยให้คุณได้รับความคุ้มครองอย่างเต็มที่
นอกจากนี้ ในการเลือกซื้อประกันรถยนต์ ก็ควรเปรียบเทียบแผนการคุ้มครองล่วงหน้าจะช่วยให้คุณมั่นใจได้ว่าคุณมีความพร้อมในการรับมือกับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝันในทุกสถานการณ์ โดยเฉพาะเหตุการณ์ชนเขตก่อสร้างนั่นเอง
หากคุณกำลังมองหาประกันยนต์ที่ใช่ ให้ความคุ้มครองที่ครบครันในราคาที่คุ้มค่า Pocket พร้อมให้คำปรึกษาและแนะนำแผนประกันที่เหมาะสม สามารถดูแผนประกันรถยนต์ออนไลน์ พร้อมเปรียบเทียบประกันรถยนต์ และเช็คเบี้ยได้ง่ายๆ ที่ www.pocketbylmg.com หรือ โทร. 02-302-7788 เพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญของเรา