แผ่นดินไหวขณะขับรถ ทำอย่างไรให้ปลอดภัยจากอันตรายและอุบัติเหตุ

สืบเนื่องจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ขนาด 7.4 ริกเตอร์ จากประเทศเมียนมาที่สั่นสะเทือนถึงประเทศไทย ส่งผลให้เกิดความเสียหายต่ออาคาร ถนน และสิ่งปลูกสร้างมากมายในกรุงเทพฯ และจังหวัดต่างๆ ผู้คนต่างต้องอพยพออกจากตึกสูงเพื่อความปลอดภัย อีกทั้งทำให้ผู้ที่เจอกับแผ่นดินไหวขณะขับรถมีความเสี่ยงต่ออุบัติเหตุ

แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ไม่สามารถคาดเดาได้ แม้ประเทศไทยจะไม่ได้ตั้งอยู่บนรอยเลื่อนหลัก แต่ก็รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนได้จากแหล่งกำเนิดในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งหากกำลังขับรถช่วงแผ่นดินไหว ผู้ขับขี่ก็ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย โดย Pocket ได้รวบรวมข้อควรปฏิบัติเมื่อแผ่นดินไหวขณะขับรถมาไว้ในบทความนี้

แผ่นดินไหวขณะขับรถทำอย่างไร ให้ปลอดภัยจากอันตรายและอุบัติเหตุ

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะขับรถ ควรทำอย่างไร?

1. ตั้งสติและลดความเร็วลงอย่างปลอดภัย

เมื่อรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ตั้งสติ อย่าตื่นตระหนกจนเกินไป ประคองพวงมาลัยให้มั่นคงและค่อยๆ ลดความเร็ว ไม่ควรเบรกกะทันหันหรือดึงเบรกมือ เพราะอาจทำให้เสียการควบคุมรถหรือเกิดอุบัติเหตุได้ หากมีรถคันอื่นๆ ขับตามมา และเปิดไฟฉุกเฉินเพื่อเตือนผู้ขับขี่คนอื่น โดยเฉพาะเมื่อมีสิ่งกีดขวางข้างหน้า เช่น รอยแยกบนถนน หรือเศษสิ่งก่อสร้างที่อาจสร้างความเสียหายต่อตัวรถ

สัญญาณแรงสั่นสะเทือนที่สามารถสังเกตได้ขณะอยู่บนท้องถนน ได้แก่

  • รถเริ่มส่ายไปมาโดยที่ไม่ได้หักพวงมาลัย
  • รู้สึกเหมือนล้อรถขรุขระผิดปกติทั้งที่ถนนเรียบ
  • เห็นเสาไฟฟ้า ป้ายจราจร หรือต้นไม้โยกไปมาโดยไม่มีลม

ซื้อประกันรถยนต์กับ Pocket คุ้มค่าสุดๆ

2. เลือกจุดที่ปลอดภัยในการจอดรถ

อันดับต่อมา หลายคนคงมีคำถามว่าควรจอดรถอย่างไรเมื่อเกิดแผ่นดินไหว ควรปล่อยรถไว้กลางถนนเลยหรือไม่ โดยในการจอดรถขณะแผ่นดินไหว แนะนำให้หลีกเลี่ยงการจอดใต้สะพาน ใกล้เสาไฟฟ้า ป้ายโฆษณา อาคารสูง หรือต้นไม้ใหญ่ เนื่องจากอาจถล่มหรือหักโค่นทับรถได้ ให้เลือกจอดในพื้นที่โล่งแจ้ง ห่างจากเส้นทางจราจรหลัก เพื่อหลีกเลี่ยงการเฉี่ยวชนจากรถคันอื่นที่อาจเสียการควบคุม และปลอดภัยจากรัศมีของสิ่งของที่อาจร่วงหล่น

3. ดับเครื่องยนต์และรอฟังข่าวสาร

เมื่อจอดรถเรียบร้อยแล้ว ให้ดับเครื่องยนต์และดึงเบรกมือขึ้นเพื่อป้องกันรถไหลจากแรงสั่นสะเทือน ที่สำคัญคือ ควรติดตามข่าวสารและคำแนะนำจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น ไม่ว่าจะเป็นทางวิทยุในรถหรือบนโทรศัพท์มือถือ ซึ่งจะช่วยให้รู้ทันสถานการณ์ล่าสุด และคำแนะนำที่ควรปฏิบัติตาม

4. หลบอยู่ในรถ จนกว่าแรงสั่นสะเทือนจะหยุดลง

หากแผ่นดินไหวยังคงเกิดขึ้นต่อเนื่อง ในหลายกรณีการอยู่ในรถจะปลอดภัยกว่าการออกไปข้างนอก เพราะรถยนต์สามารถช่วยป้องกันจากสิ่งของที่อาจตกใส่ได้ หากมีความจำเป็นต้องออกจากรถ ให้ตรวจสอบสถานการณ์รอบข้างก่อนว่าปลอดภัยจากสิ่งต่างๆ โดยเฉพาะอาคารหรือสิ่งปลูกสร้างใกล้เคียงที่อาจมีเศษซากร่วงหล่นหรือล้มลงมา

แผ่นดินไหวส่วนใหญ่จะใช้เวลาไม่เกิน 1-2 นาที แต่อาจนานกว่านั้นก็เป็นได้ จึงควรรอจนกว่าแรงสั่นสะเทือนจะหยุดลงอย่างสมบูรณ์ก่อนที่จะเคลื่อนไหวหรือตัดสินใจต่อไป นอกจากนี้ ควรระวังอาฟเตอร์ช็อก (Aftershock) ที่อาจเกิดขึ้นตามมา โดยควรเตรียมพร้อมรับมือและระมัดระวังเช่นเดียวกับแผ่นดินไหวครั้งแรก

5. ประเมินสถานการณ์หลังแผ่นดินไหว

หลังเหตุการณ์สงบลง ให้ตรวจสอบว่ามีความเสียหายที่เกิดจากแผ่นดินไหวขณะขับรถหรือไม่ เช่น ยางรถเสียหายจากเศษซากปรักหักพัง กระจกรถแตกหรือร้าว และควรทดสอบระบบเบรกว่ายังทำงานได้ปกติหรือไม่ รวมถึงน้ำมันหรือของเหลวที่อาจรั่วไหลอยู่ใต้ท้องรถ ที่สำคัญคือถ่ายภาพและจดบันทึกความเสียหาย เพื่อใช้เป็นหลักฐานในการเคลมประกันรถยนต์

ต่อมา ควรสำรวจสภาพถนนโดยรอบว่ามีความเสียหายไหม สามารถขับรถต่อได้หรือไม่ โดยมีจุดควรสังเกต ได้แก่ รอยแตกหรือรอยแยกบนพื้นถนน สะพานหรือทางยกระดับที่อาจได้รับความเสียหาย สิ่งกีดขวางบนถนนอย่างต้นไม้ล้ม เสาไฟฟ้า หรือเศษซากจากอาคาร ซึ่งหากต้องการเดินทางต่อหลังแผ่นดินไหว ควรขับรถด้วยความเร็วต่ำ เพิ่มระยะห่างระหว่างรถด้านหน้ามากขึ้น และระมัดระวังถนนที่อาจเสียหายหรือยุบตัว

การรู้วิธีรับมือที่ถูกต้องเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขณะขับรถไม่เพียงแต่จะช่วยปกป้องตัวคุณและผู้โดยสาร แต่ยังช่วยลดความเสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน และสามารถตอบสนองต่อสถานการณ์ได้อย่างเหมาะสม อย่างไรก็ตาม แผ่นดินไหวเป็นภัยที่คาดเดาได้ยากและความเสียหายต่อตัวรถอาจเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้น การเลือกซื้อประกันรถยนต์ที่ครอบคลุมความเสียหายจากภัยธรรมชาติ จึงเป็นตัวเลือกที่คุ้มค่า

รถเสียหายจากแผ่นดินไหว ประกันจ่ายไหม?

เมื่อเกิดแผ่นดินไหว คำถามสำคัญที่เจ้าของรถหลายคนสงสัย คือ ประกันรถยนต์จะคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นหรือไม่? คำตอบคือ ขึ้นอยู่กับประเภทของประกันรถยนต์ที่ทำไว้ ดูกันว่าประกันแต่ละแบบให้ความคุ้มครองอย่างไร เมื่อรถได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว

  • ประกันรถยนต์ภาคบังคับ (พ.ร.บ.)

พ.ร.บ. ไม่คุ้มครองความเสียหายของตัวรถจากภัยธรรมชาติ รวมถึงแผ่นดินไหว โดย พ.ร.บ. นั้นเป็นประกันภาคบังคับที่จะมอบความคุ้มครองเฉพาะความเสียหายที่เกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย หรืออนามัยของบุคคลที่สามเท่านั้น

  • ประกันรถยนต์ชั้น 1

ประกันรถยนต์ชั้น 1 ให้ความคุ้มครองความเสียหายจากแผ่นดินไหวและภัยธรรมชาติอื่นๆ อย่างครอบคลุม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของความคุ้มครองของประกันประเภทนี้ โดยจะคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์และของตกแต่งที่ติดตั้งมากับรถ หรือชิ้นส่วนที่ได้แจ้งเพิ่มเติมไว้กับบริษัทประกัน

  • ประกันรถยนต์ชั้น 2+

ประกันรถยนต์ชั้น 2+ ส่วนใหญ่คุ้มครองความเสียหายจากแผ่นดินไหว แต่ผู้เอาประกันควรตรวจสอบเงื่อนไขให้ละเอียด เนื่องจากบางกรมธรรม์อาจมีข้อยกเว้นหรือเงื่อนไขเฉพาะ โดยทั่วไป ประกันชั้น 2+ จะคุ้มครองความเสียหายต่อตัวรถยนต์จากภัยธรรมชาติ รวมถึงแผ่นดินไหว รถสูญหาย และไฟไหม้ แต่จะไม่คุ้มครองกรณีรถชนแบบไม่มีคู่กรณี

  • ประกันรถยนต์ชั้น 3+

ประกันรถยนต์ชั้น 3+ อาจให้คุ้มครองความเสียหายจากแผ่นดินไหวในบางกรมธรรม์ ซึ่งผู้เอาประกันควรตรวจสอบเงื่อนไขความคุ้มครองและเปรียบเทียบประกันรถยนต์ให้ละเอียด โดยบริษัทประกันบางรายอาจเสนอความคุ้มครองภัยธรรมชาติเป็นส่วนเพิ่มเติมนอกเหนือจากความคุ้มครองเดิม หรือบางแห่งอาจรวมความคุ้มครองไว้ในกรมธรรม์แล้วตั้งแต่ต้น

กล่าวได้ว่า การทำประกันรถยนต์ที่คุ้มครองความเสียหายจากแผ่นดินไหวเป็นการลงทุนเพื่อความอุ่นใจ โดยเฉพาะเมื่อต้องเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง หรือในช่วงที่สถานการณ์ไม่แน่นอน ซึ่งจะช่วยให้ได้รับการคุ้มครองที่คุ้มค่าและครอบคลุมความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น

หากคุณกำลังตัดสินใจซื้อประกันภัยรถยนต์ Pocket ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำแผนประกันที่เหมาะสม เพื่อให้การใช้รถใช้ถนนเป็นไปอย่างอุ่นใจ สามารถดูแผนประกันรถยนต์ออนไลน์ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ และเช็คเบี้ยได้ง่ายๆ ที่ www.pocketbylmg.com/ หรือโทร. 02-302-7788 เพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับแผนประกันที่ตอบโจทย์ในราคาที่คุ้มค่า

รับฟรีโค้ดเติมน้ำมัน

ปรึกษาพร้อมรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญ เพียงฝากข้อมูลของคุณด้านล่าง