การต่อภาษีรถยนต์หรือการต่อทะเบียนรถยนต์นั้น เจ้าของรถยนต์ทุกคนต้องทำเป็นประจำทุกปี เพราะหากขาดการต่อภาษีจะต้องเสียค่าปรับด้วย ซึ่งการต่อภาษีรถยนต์จะต้องเตรียมเอกสารอะไรบ้าง รถยนต์แต่ละประเภทมีค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีเท่าไหร่ และสถานที่ต่อภาษีรถยนต์มีที่ไหนบ้าง สามารถติดตามได้ที่นี่
สถานที่ต่อภาษีรถยนต์มีที่ไหนบ้าง
สำหรับสถานที่ต่อภาษีรถยนต์ที่สามารถเดินทางไปได้ มีดังนี้
1. สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
2. ที่ทำการไปรษณีย์
3. ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax)
4. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
5. เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ
ต่อภาษีรถยนต์ที่สำนักงานขนส่งทั่วประเทศ
การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำได้ที่สำนักงานขนส่ง โดยมีสาขาอยู่ในทุกจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งข้อดีของการต่อภาษีที่สำนักงานขนส่ง คือ สามารถใช้บริการข้ามจังหวัดได้ไม่ว่ารถของเราจะจดทะเบียนที่จังหวัดไหน ยกตัวอย่างสำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร มีให้บริการถึง 5 พื้นที่ด้วยกัน ได้แก่
1. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 1
รับผิดชอบในเขตพื้นที่บางขุนเทียน บางคอแหลม จอมทอง ธนบุรี ราษฎร์บูรณะ คลองสาน สาทร ทุ่งครุ บางบอน และยานนาวา
- ที่อยู่: 1005 ถนนบางขุนเทียน-ชายทะเล แขวงท่าข้าม เขตบางขุนเทียน กรุงเทพฯ 10150
- โทร: 0-2415-7337
2. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 2
รับผิดชอบในเขตพื้นที่ตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ หนองแขม พระนคร บางแค และทวีวัฒนา
- ที่อยู่: 51 ถนนสวนผัก แขวงตลิ่งชัน เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ 10170
- โทร: 0-2882-1620-35 รับผิดชอบในเขตพื้นที่ เขตตลิ่งชัน บางพลัด บางกอกน้อย บางกอกใหญ่ ภาษีเจริญ หนองแขม พระนคร บางแค และทวีวัฒนา
3. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 3
รับผิดชอบในเขตพื้นที่พระโขนง ประเวศ สวนหลวง คลองเตย บางนา วัฒนา และบางจาก
- ที่อยู่: ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1 เลขที่ 2479 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
- โทร: 0-2332-9688-91
4. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 4
รับผิดชอบในเขตพื้นที่พระโขนง ประเวศ สวนหลวง คลองเตย บางนา วัฒนา และบางจาก
- ที่อยู่: ตรงข้ามซอยสุขุมวิท 62/1 เลขที่ 2479 ถนนสุขุมวิท แขวงบางจาก เขตพระโขนง กรุงเทพฯ 10260
- โทร: 0-2332-9688-91
5. สำนักงานขนส่งกรุงเทพมหานคร พื้นที่ 5 (กรมการขนส่งทางบก)
รับผิดชอบในเขตพื้นที่ป้อมปราบศัตรูพ่าย ปทุมวัน ดุสิต บางซื่อ บางเขน ดินแดง จตุจักร ลาดพร้าว สายไหม สัมพันธวงศ์ บางรัก พญาไท ห้วยขวาง บางกะปิ ดอนเมือง ราชเทวี หลักสี่ และวังทองหลวง
- ที่อยู่: 1032 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
- โทร: 0-2272-3100
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีที่สำนักงานขนส่งได้ มีดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
เอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบ ได้แก่
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
- เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ (ที่ยังไม่หมดอายุ)
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)
วัน - เวลาที่เปิดให้บริการ
- วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 16.30 น.
นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกชำระภาษีรถยนต์ประจำปีได้เพิ่มอีก 2 ช่องทาง เพื่อความสะดวกมากยิ่งขึ้น ได้แก่
- เลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) โดยผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงจากรถให้เสียเวลา เพียงแค่เตรียมสมุดคู่มือจดทะเบียนรถหรือสำเนา พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ และใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถที่มีอายุเกิน 7 ปี) สามารถทำได้ทุกวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.30 - 18.00 น.
- ตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk) โดยผู้ใช้บริการสามารถดำเนินการด้วยตัวเองได้ที่ตู้ และสามารถชำระด้วยการตัดผ่านบัญชีได้ทุกธนาคาร ทั้งนี้สามารถพิมพ์ป้ายต่อภาษีรถยนต์จากตู้ก็ได้ หรือจะให้จัดส่งทางไปรษณีย์ไปที่บ้านก็ได้ ใช้เวลาไม่เกิน 3 วัน มีค่าจัดส่ง 32 บาท
ต่อภาษีรถยนต์ที่ที่ทำการไปรษณีย์
ที่ทำการไปรษณีย์ทุกแห่งทั่วประเทศก็สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้เช่นกัน ยกเว้นรถที่ยังผ่อนไม่หมดจะไม่สามารถทำได้ โดยมีค่าธรรมเนียม 40 บาท และจะได้รับใบเสร็จกลับไป ส่วนป้ายต่อภาษีรถยนต์จะส่งไปตามที่อยู่ที่ระบุไว้ภายหลัง
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีที่ทำการไปรษณีย์ได้ มีดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
เอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบ ได้แก่
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถเล่มจริง (เท่านั้น)
- พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)
วัน - เวลาเปิดให้บริการ
- วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.00 - 18.00 น.
- วันเสาร์ - วันอาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ และวันหยุดชดเชย เวลา 09.00 - 17.00 น.
ต่อภาษีรถยนต์ที่ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี”
ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ “ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี” (Shop Thru for Tax) มีดังนี้
- ห้างบิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 09.00 - 17.00 น.
สาขาที่ให้บริการ ได้แก่ สาขาลาดพร้าว, รามอินทรา, รัชดาภิเษก, บางปะกอก, เพชรเกษม, สุขาภิบาล 3, อ่อนนุช, แจ้งวัฒนะ, สำโรง, บางบอน, สุวินทวงศ์, สมุทรปราการ, บางใหญ่, บางนา - ศูนย์การค้าพาราไดซ์ พาร์ค เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 11.00 - 18.00 น.
- ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
สาขาที่ให้บริการ ได้แก่ สาขาศาลายา, แจ้งวัฒนะ, เวสต์เกต - เดอะมอลล์ งามวงศ์วาน เปิดให้บริการวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
- ศูนย์บริการร่วมคมนาคม เชิงสะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน เปิดให้บริการวันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 08.30 - 15.00 น.
ต่อภาษีรถยนต์ที่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่สามารถต่อภาษีรถยนต์ได้เช่นกัน โดยมีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องเป็นรถที่ไม่ค้างชำระหรือค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี หรือมีภาษีค้างชำระเกิน 1 ปี ที่นายทะเบียนได้ประกาศยกเว้นการตรวจสภาพรถก่อนเสียภาษีประจำปี
- ยื่นขอเสียภาษีล่วงหน้าได้ไม่เกิน 3 เดือน ก่อนวันครบกำหนดเสียภาษี เว้นแต่รถที่มีภาษีค้างชำระให้ยื่นได้ทันที
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีที่ธนาคาร ธ.ก.ส. ได้ มีดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล
เอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบ ได้แก่
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
- เอกสาร พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน หรือรถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป หรือรถจักรยานยนต์ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 5 ปีขึ้นไป)
ต่อภาษีรถยนต์ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิส
อีกหนึ่งสถานที่ต่อภาษีรถยนต์ที่สะดวกมากและมีจุดบริการครอบคลุมทั่วประเทศก็คือ เคาน์เตอร์เซอร์วิส โดยมีค่าบริการเคาน์เตอร์เซอร์วิส 20 บาท และค่าจัดส่งป้ายต่อภาษีรถยนต์ 40 บาท
ซึ่งกรมการขนส่งทางบกจะส่งใบเสร็จและป้ายให้ทางไปรษณีย์ ตามที่อยู่ที่ระบุภายใน 10 วันนับจากวันที่ชำระเงิน
ประเภทรถยนต์ที่สามารถต่อภาษีที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสได้ คือ รถยนต์ที่มีอายุการใช้งานไม่เกิน 7 ปี
เอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบ ได้แก่
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
- หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ
- บัตรประชาชนตัวจริง (เจ้าของรถ)
- กรณีที่ใช้รถที่ติดตั้งก๊าซธรรมชาติ จะต้องมีหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ และการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถ
วัน - เวลาที่เปิดให้บริการ
- วันจันทร์ - วันศุกร์ เวลา 07.30 - 15.30 น.
ต่อภาษีรถยนต์ผ่านทางออนไลน์ได้หรือไม่?
การต่อภาษีรถยนต์สามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
1. ต่อภาษีรถยนต์ทางเว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก
การยื่นต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ทำได้เฉพาะรถมีอายุไม่เกิน 7 ปี นับตั้งแต่วันที่จดทะเบียนครั้งแรก (กรณีรถยนต์อายุเกิน 7 ปี ต้องได้รับการตรวจสภาพรถที่ ตรอ. หรือสถานตรวจสภาพรถเอกชนก่อน) สามารถทำได้ผ่าน 2 ช่องทาง คือ
- เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก http://eservice.dlt.go.th
- แอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
รถเก่าอายุเกิน 7 ปี จะไม่สามารถทำผ่านช่องทางแอปพลิเคชันได้ โดยการยื่นต่อภาษีออนไลน์ สามารถชำระภาษีรถล่วงหน้าก่อนสิ้นอายุภาษีได้ไม่เกิน 90 วัน
2. ต่อภาษีรถยนต์ผ่านแอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet
การต่อภาษีรถยนต์ผ่าน mPay และ TrueMoney Wallet มีเงื่อนไขดังนี้
- ต้องเป็นรถที่ไม่มีภาษีค้างชำระหรือค้างชำระไม่เกิน 1 ปี
- ไม่ถูกอายัดทะเบียน
- ไม่ใช่รถที่ใช้ก๊าซ
- ไม่ได้ดัดแปลงหรือแต่งรถให้ผิดไปจากรายการที่จดทะเบียนไว้
ประเภทรถที่สามารถต่อภาษีออนไลน์ได้ มีดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน ที่จดทะเบียนไม่เกิน 7 ปี
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล และรถจักรยานยนต์
- อายุรถไม่เกิน 7 ปี (ถ้ารถเกิน 7 ปี ต้องทำการตรวจสภาพรถก่อน)
- รถค้างชำระภาษีไม่เกิน 1 ปี
- รถยนต์ที่ไม่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สทุกชนิด
- รถทุกจังหวัดที่มีสถานะทะเบียนปกติ หรือไม่ถูกระงับทะเบียนเนื่องจากค้างชำระภาษีประจำปี ติดต่อกันครบ 3 ปี
- รถที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี/ไม่ใช่รถของหน่วยงานราชการ
- รถที่ไม่ถูกอายัด
เอกสารและหลักฐานที่ใช้ประกอบ ได้แก่
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา (ไฟล์รูป)
- หลักฐานการเอาประกันภัยตาม พ.ร.บ. (ไฟล์รูป)
- บัตรประชาชนตัวจริงของเจ้าของรถ (ไฟล์รูป)
- หนังสือรับรองการตรวจสภาพรถจากสถานตรวจสภาพรถเอกชน (ตรอ.) (สำหรับรถที่เกิน 7 ปี ต้องได้รับการตรวจ โดยข้อมูลจะถูกส่งไปยังกรมขนส่งในทันทีหลังจากการตรวจผ่านเกณฑ์)
- กรณีที่ใช้รถที่ติดตั้งก๊าซธรรมชาติ จะต้องมีหนังสือรับรองการตรวจและทดสอบส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ รวมถึงการติดตั้งส่วนควบและเครื่องอุปกรณ์ของรถ (ไฟล์รูป)
ค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถยนต์
การคำนวณภาษีรถยนต์ ขึ้นอยู่กับประเภทของรถว่าเป็นประเภทไหน ขนาดเครื่องยนต์เท่าไหร่ (ซีซี) เนื่องจากวิธีการคำนวณภาษีรถยนต์แต่ละประเภทมีความแตกต่างกัน ดังนี้
1. รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน หรือ รถยนต์ป้ายทะเบียนดำ (ป้ายขาวตัวหนังสือดำ)
2. รถยนต์ไฟฟ้า/รถยนต์ส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง หรือ รถยนต์ป้ายทะเบียนน้ำเงิน (ป้ายขาวตัวหนังสือน้ำเงิน)
3. รถบรรทุกส่วนบุคคลเกิน 7 ที่นั่ง หรือรถยนต์ป้ายทะเบียนเขียว (ป้ายขาวตัวหนังสือเขียว)
ซึ่งสามารถตรวจสอบข้อมูลค่าภาษีรถยนต์ของตนเองได้ที่เว็บไซต์กรมขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/esvapp/esv/ebk/esv02q002/index.jsf
นอกจากการต่อภาษีรถยนต์ประจำปีแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญสำหรับเจ้าของรถทุกคนก็คือ การทำประกันรถยนต์ เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุหรือเหตุฉุกเฉินประกันรถยนต์จะช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายให้กับเราได้ ซึ่งควรเลือกบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่มีคุณภาพ เช่น Pocket by LMG ที่มีอู่และศูนย์ซ่อมที่ได้มาตรฐานทั่วประเทศ พร้อมบริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง ที่สำคัญสามารถปรับเลือกแผนประกันรถยนต์ได้ตามความต้องการ สามารถเช็คเบี้ยซื้อประกันรถยนต์ผ่านช่องออนไลน์ได้ง่ายๆ 24 ชั่วโมงที่ www.pocketbylmg.com