5 สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้า หรือ Electronic Vehicle (EV) กำลังเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน เนื่องจากเป็นตัวเลือกของยานยนต์ที่รักษาสิ่งแวดล้อม พร้อมยังช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว ในต่างประเทศหลายประเทศมีนโยบายที่ส่งเสริมให้ประชาชนเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าโดยจัดจุดชาร์จพลังงานให้ใช้งานโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ไปจนถึงการลดภาษีรถยนต์ที่ต้องจ่ายด้วย 

5 สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้า

ข้อมูลจากประชาชาติธุรกิจ ตามรายงานจากบริษัท กรังด์ปรีซ์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ผู้จัดงานมอเตอร์โชว์ประจำปี 2566 เปิดเผยว่า ยอดจองรถยนต์ไฟฟ้า มียอดจองทั้งสิ้น 9,234 คัน หรือคิดเป็น 20% จากยอดรวม 45,983 คัน และจากการคาดการณ์ของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยอดจดทะเบียนใหม่ของรถยนต์ไฟฟ้าในปีนี้จะอยู่ที่ระหว่าง 25,000-35,000 คัน ซึ่งเป็นการเติบโตกว่า 2 เท่าจากปี 2565 

จะเห็นได้ว่ายอดจองซื้อรถยนต์ไฟฟ้าในไทยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยภาครัฐมีนโยบาลลดหย่อนภาษีสำหรับเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้า EV ที่จดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ในระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2565 ถึงวันที่ 10 พฤศจิกายน 2568 จะได้ลดภาษีลงร้อยละ 80 โดยรถเก๋งที่ใช้พลังงานไฟฟ้าที่มีน้ำหนัก 1,800 กิโลกรัม ปกติจัดเก็บภาษีประจำปี 1,600 บาท ลดภาษีประจำปีแล้วจะคงเหลือ 320 บาท ซึ่งการลดภาษีประจำปีเป็นระยะเวลา 1 ปี นับแต่วันที่รถนั้นจดทะเบียน

 

ซื้อประกันรถยนต์กับ Pocket คุ้มค่าสุดๆ

 

หากคุณเป็นคนหนึ่งที่กำลังอยากเป็นเจ้าของรถยนต์ไฟฟ้าสักคัน แล้วอยากทราบว่าต้องเตรียมตัวอย่างไรบ้าง เราได้รวบรวม 5 สิ่งที่ควรรู้ก่อนซื้อรถยนต์ไฟฟ้ามาให้แล้ว

1. ประเภทของรถยนต์ไฟฟ้า

เราสามารถแบ่งประเภทของรถยนต์ไฟฟ้าออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

  • รถยนต์ไฟฟ้าแบบพลังงานเต็มรูปแบบ (BEV)

ใช้เฉพาะพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่เท่านั้น โดยไม่มีการใช้เชื้อเพลิงอื่นๆ เมื่อใช้งาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม วิ่งได้ระยะทางประมาณ 338-473 กิโลเมตรต่อการชาร์จหนึ่งครั้ง

  • รถยนต์ไฟฟ้าแบบ Hybrid (HEV)

ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลิงและพลังงานไฟฟ้าทำงานร่วมกัน แต่มักจะใช้เชื้อเพลิงมากกว่าไฟฟ้า เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการประหยัดเชื้อเพลิงแต่ก็ต้องการประโยชน์จากการใช้พลังงานไฟฟ้า

  • รถยนต์ไฟฟ้าแบบ Plug-in Hybrid (PHEV)

ใช้พลังงานจากน้ำมันเชื้อเพลงและพลังงานไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ รูปแบบเหมือนรถยนต์ไฟฟ้าแบบ Hybrid แต่สามารถเสียบปลั๊กเพื่อชาร์จพลังงานไฟฟ้าได้จากภายนอก เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการเดินทางระยะทางสั้นๆ ในโหมดไฟฟ้า และเติมเชื้อเพลิงเมื่อระยะทางไกลขึ้น

2. หลักการทำงานของรถยนต์ไฟฟ้า

รถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานจากแบตเตอรี่มาขับเคลื่อน เมื่อแบตเตอรี่หมดจะต้องชาร์จพลังงานไฟฟ้าเข้าไปในแบตเตอรี่ใหม่ โดยสามารถชาร์จพลังงานได้จากสถานีชาร์จไฟฟ้าสาธารณะ หรือติดตั้ง EV Charge ที่บ้าน ซึ่งรูปแบบการชาร์จที่พบทั่วไปมีถึง 3 แบบด้วยกัน

  • QUICK CHARGER 4-7 ชั่วโมง เป็นการชาร์จด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC Charging) โดยใช้ตู้ EV Charger ตามสถานีชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าทั่วไป
  • DOUBLE SPEED CHARGE (เครื่องชาร์จ WALL BOX) 40-60 นาที เป็นการชาร์จด้วยไฟกระแสไฟฟ้าสลับ (AC Charging) ส่วนใหญ่จะเห็นกันในรูปของตู้ชาร์จติดผนังตามห้างสรรพสินค้า โรงแรมหรือปั๊มน้ำมัน
  • NORMAL CHARGE ใช้เวลา 12-16 ชั่วโมง เป็นการชาร์จแบบต่อจากเต้ารับภายในบ้านโดยตรง ซึ่งจำเป็นต้องได้รับการติดตั้งมิเตอร์ไฟฟ้า หม้อแปลง และเต้ารับไฟสำหรับการชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ 

3. การติดตั้ง EV Charge ที่บ้าน

เราสามารถติดตั้ง EV Charge ได้โดยต้องได้รับการติดตั้งจากช่างไฟฟ้าที่ชำนาญการเท่านั้น เนื่องจากจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดมิเตอร์ไฟฟ้าให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เปลี่ยนสายเมนไฟฟ้า เซอร์กิต เบรกเกอร์ รวมถึงติดตั้งอุปกรณ์เต้ารับสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และอุปกรณ์ตัดไฟเพื่อช่วยตัดไฟฟ้าอัตโนมัติกรณีเกิดเหตุไฟฟ้าลัดวงจรหรือไฟฟ้าดูด โดยสามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้จากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย

4. สถานที่ที่มี EV Charge

ในประเทศไทยมีหลายสถานที่เริ่มให้บริการชาร์จแบตเตอรี่สำหรับรถยนต์ไฟฟ้า ไม่ว่าจะเป็นห้างสรรพสินค้า ปั๊มน้ำมัน โรงแรม รวมไปถึงสถานีชาร์จสำหรับรถยนต์ไฟฟ้าโดยเฉพาะ ซึ่งปัจจุบันเริ่มขยายการครอบคลุมมากขึ้น

5. ประกันรถยนต์ไฟฟ้า

ประกันรถยนต์ไฟฟ้าเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ควรนำมาประกอบการพิจารณาการซื้อรถยนต์ไฟฟ้า เนื่องจากมีมูลค่าสูงกว่ารถยนต์ทั่วไป เบี้ยประกันรถยนต์ไฟฟ้าจึงมีแนวโน้มสูงกว่าเบี้ยประกันรถยนต์ปกติ ดังนั้นจึงควรพิจารณาราคาให้เหมาะสมกับงบประมาณที่คุณต้องการ และควรเลือกประกันรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความคุ้มครองครอบคลุมต่อความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับตัวรถ รวมไปถึงอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ประกันรถยนต์ไฟฟ้ามีแนวโน้มที่จะปรับราคาลง เพราะความนิยมของผู้ใช้งานที่มากขึ้น อีกไม่กี่ปีเราอาจพบว่าประกันภัยสำหรับรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ทั่วไปอาจมีราคาใกล้เคียงกัน 

รถยนต์ไฟฟ้าเป็นอีกตัวเลือกหนึ่งที่จะช่วยรักษาสิ่งแวดล้อม และประหยัดค่าใช้จ่ายในระยะยาว เมื่อศึกษาข้อมูลทั่วไปเรียบร้อยแล้ว หากตัดสินใจจะซื้อรถยนต์ไฟฟ้าสักคันก็อย่าลืมเลือกทำประกันรถยนต์สำหรับรถไฟฟ้ากับบริษัทประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองอย่างคุ้มค่า เช่น Pocket by LMG โดยค่าเบี้ยประกันเริ่มต้นเพียง 18,000 บาท* สามารถปรับเลือกแผนประกันได้ตามต้องการ พร้อมบริการช่วยเหลือตลอด 24 ชั่วโมง หากสนใจข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเช็คเบี้ยประกันรถยนต์ออนไลน์ได้ง่ายๆ ผ่านเว็บไซต์ได้ตลอด 24 ชั่วโมงที่ www.pocketbylmg.com   

*ราคาอาจแตกต่างกันขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือกและยี่ห้อของรถยนต์ไฟฟ้า เช่น MG, Neta, Volvo และ BMW

รับฟรีโค้ดเติมน้ำมัน

Want us to call you?