ถูกชนในที่ห้ามจอด ประกันจ่ายมั้ย ใครผิด เรียกร้องอะไรได้บ้าง

การจอดรถในที่ห้ามจอดนั้นเป็นกฎข้อห้ามที่ทุกคนรู้กันดี แต่ก็อาจมีบางครั้งที่มีเหตุให้ต้องจอดรถในพื้นที่ดังกล่าว ไม่ว่าจะด้วยความจำเป็นเร่งด่วนหรือความรีบร้อน แม้จะเป็นการกระทำที่ผิดกฎจราจร แต่หากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ก็อาจทำให้เกิดความกังวลว่าถ้าถูกชนในที่ห้ามจอด ประกันจ่ายมั้ย แล้วใครจะเป็นฝ่ายผิดในกรณีนี้ อย่างนั้นมาไขข้อข้องใจเกี่ยวกับเรื่องนี้กัน

Car hit non parking area insurance coverage

บริเวณไหนบ้างคือที่ห้ามจอดรถ

อันดับแรก มาดูกันว่าจุดไหนตามท้องถนนที่ถือเป็นพื้นที่ห้ามจอดบ้าง โดยพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 57 ได้ระบุพื้นที่หรือบริเวณที่ห้ามจอดรถไว้ ได้แก่

  • จอดรถบนทางเดินเท้า
  • จอดรถบนสะพานหรืออุโมงค์
  • จอดรถในทางร่วมทางแยก หรือในระยะ 10 เมตร จากทางร่วมทางแยก
  • จอดรถในทางข้ามหรือในระยะ 3 เมตรจากทางข้าม
  • จอดรถในเขตที่มีเครื่องหมายจราจรห้ามจอดรถ
  • จอดรถ ในระยะ 3 เมตร จากท่อน้ำดับเพลิง
  • จอดรถในระยะ 10 เมตร จากที่ดินตั้งสัญญาณจราจร
  • จอดในระยะ 15 เมตรจากทางรถไฟผ่าน
  • จอดซ้อนกันกับรถอื่นที่จอดอยู่ก่อนแล้ว
  • จอดรถบริเวณปากทางเข้าออกของอาคารหรือทางเดินรถ หรือในระยะ 5 เมตร จากปากทางเดินรถ
  • จอดรถในระหว่างเขตปลอดภัยกับขอบทางหรือในระยะ 10 เมตร นับจากปลายสุดของเขตปลอดภัยทั้งสองข้าง
  • จอดรถในที่คับขัน ทางที่มีการจราจรพลุกพล่าน
  • จอดรถในระยะ 15 เมตร ก่อนถึงเครื่องหมายหยุดรถประจำทาง
  • จอดรถในระยะ 3 เมตรจากตู้ไปรษณีย์
  • จอดรถในลักษณะกีดขวางการจราจร

ซื้อประกันรถยนต์กับ Pocket คุ้มค่าสุดๆ

ถูกชนในที่ห้ามจอดรถ ใครเป็นฝ่ายผิด

เมื่อเกิดกรณีถูกชนในที่ห้ามจอดรถ กฎหมายได้กำหนดความรับผิดชอบไว้อย่างชัดเจนว่า ฝ่ายที่ขับรถมาชนจะถือเป็นผู้กระทำผิด เนื่องจากเป็นการขับรถโดยประมาท แม้ว่ารถที่ถูกชนจะจอดในที่ห้ามจอด ก็ไม่ได้เป็นเหตุผลที่จะทำให้คู่กรณีพ้นผิดจากการชน และจำเป็นต้องชดเชยค่าเสียหายให้กับฝ่ายที่ถูกชนอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เจ้าของรถที่จอดรถในพื้นที่ห้ามจอดนั้นจะมีความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 ซึ่งถือเป็นคนละกรณีกับอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น มีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท พร้อมโดนตัดคะแนนความประพฤติในการขับรถ 1 คะแนนอีกด้วย รวมถึงตำรวจจราจรสามารถเคลื่อนย้ายรถให้พ้นพื้นที่ดังกล่าว หรือใส่เครื่องบังคับล้อห้ามเคลื่อนย้าย 

ถูกชนในที่ห้ามจอด ประกันจ่ายมั้ย 

คำถามสำคัญที่เจ้าของรถทุกคนมี คือ ประกันจ่ายมั้ยถ้าจอดในที่ห้ามจอด สำหรับผู้ที่ทำประกันรถยนต์ไว้ก็ไม่ต้องกังวลเรื่องความคุ้มครอง เพราะบริษัทประกันยังคงให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขกรมธรรม์ โดยประกันแต่ละประเภทจะมอบความคุ้มครองที่แตกต่างกันดังนี้

  • ประกันรถยนต์ชั้น 1 ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทุกกรณี ซึ่งทางบริษัทประกันรถจะไปเรียกร้องค่าเสียหายจากฝ่ายคู่กรณี แม้จะไม่พบตัวคู่กรณีก็ตาม และสามารถทำเรื่องเคลมได้ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายถูกหรือเป็นการประมาทร่วมก็ตาม 
  • ประกันรถยนต์ชั้น 2+ และ ประกันรถยนต์ชั้น 3+  จะให้ความคุ้มครองในกรณีที่มีคู่กรณีเท่านั้น หากเป็นกรณีชนแล้วหนี เจ้าของรถอาจต้องขอยื่นเรื่องกับตำรวจจราจร เพื่อขอภาพวงจรปิดในการตามตัวผู้ที่ขับรถชน แต่หากไม่สามารถระบุตัวตนของคู่กรณีได้ ก็จะไม่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้ 

ในทางกลับกัน ถ้าคุณเป็นฝ่ายขับรถชนรถที่จอดอยู่ ทางบริษัทประกันจะช่วยรับผิดชอบความเสียหายต่อคู่กรณี ไม่ว่าจะซื้อประกันรถยนต์ชั้นไหนไว้ก็ตาม แต่ค่าเสียหายต่อรถคุณเอง ทางประกันจะรับเคลมให้สำหรับประกันชั้น 1, ชั้น 2+ และชั้น 3+ เท่านั้น หากเป็นประกันชั้น 2 และ 3 จะไม่ได้รับความคุ้มครองในส่วนนี้

ถูกชนในที่ห้ามจอดรถ เรียกร้องอะไรได้บ้าง

แม้จะจอดรถในที่ห้ามจอด แต่ถ้าถูกชน คุณยังคงมีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายได้หลายรายการตามความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง เช่น 

1. ค่ารักษาพยาบาล

หากเจ้าของรถที่โดนชนขณะจอดรถถูกชนได้รับบาดเจ็บทางร่างกาย  สามารถแจ้งเบิกเคลมค่ารักษาพยาบาลได้จากประกันรถยนต์ภาคบังคับหรือ พ.ร.บ. ซึ่งครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาล รวมแล้วไม่เกิน 80,000 บาท รวมถึงค่ารักษาพยาบาลตามทุนประกันของตัวเอง หรือหากมีค่ารักษาที่สูงกว่านั้นก็สามารถเรียกร้องจากประกันภัยของคู่กรณีเพิ่มเติมได้

2. ค่าเสียหายต่อตัวรถ

แน่นอนว่า ประกันภัยของคู่กรณีต้องครอบคลุมถึงค่าความเสียหายต่อตัวรถยนต์ หรือสามารถเรียกค่าเสียหายจากอีกฝ่ายได้โดยตรง ในกรณีที่คู่กรณีไม่มีประกันรถยนต์ ส่วนใครที่ทำประกันชั้น 1, 2+ และ 3+ ทางบริษัทประกันภัยก็จะให้ความคุ้มครองความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ด้วย

3. ค่าเสียที่เกิดขึ้นต่อทรัพย์สิน

นอกจากค่าเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถยนต์ คุณสามารถเรียกร้องค่าเสียหายเพิ่มเติมได้จากผู้กระทำผิด หากอุบัติเหตุก่อให้เกิดความเสียหายกับทรัพย์สินส่วนอื่นๆ ที่นอกเหนือจากตัวรถ เช่น อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ติดตั้งภายในห้องโดยสาร หรืออื่นๆ โดยสามารถเรียกร้องค่าชดเชยได้โดยตรง หรือกรมธรรม์ประกันภัยของคู่กรณี

4. ค่ารถยก หรือรถลากจูง 

หากรถยนต์เสียหายเกินกว่าจะขับไปต่อได้ ประกันของคู่กรณีจะต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าเคลื่อนย้ายรถโดยรถยกหรือรถลาก เพื่อเคลื่อนย้ายรถออกจากพื้นที่จราจร หรือเพื่อส่งรถไปยังศูนย์ซ่อมรถยนต์

5. ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์

คุณสามารถเรียก “ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์” จากคู่กรณี ในขณะที่รถอยู่ระหว่างการซ่อมแซม โดยสามารถเรียกร้องได้โดยตรงจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี ตามอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถที่กำหนดขึ้นโดย คปภ. ซึ่งสำหรับ รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง จะได้ค่าขาดประโยชน์ไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท

ถึงแม้การจอดรถในที่ห้ามจอดจะเป็นการกระทำที่ผิดกฎจราจร แต่เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้น ประกันรถยนต์ยังคงให้ความคุ้มครองตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ อย่างไรก็ตาม เพื่อความปลอดภัยและลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุ ผู้ขับขี่ควรหลีกเลี่ยงการจอดรถในที่ห้ามจอด และเลือกทำประกันรถยนต์ที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ เพื่อให้ได้รับความคุ้มครองที่ครอบคลุมที่สุด

หากสนใจทำประกันรถยนต์ Pocket ยินดีให้คำปรึกษาและแนะนำแผนประกันที่เหมาะสม โดยสามารถดูแผนประกันรถยนต์ออนไลน์ เปรียบเทียบประกันรถยนต์ และเช็คเบี้ยได้ง่ายๆ ที่ www.pocketbylmg.com/ หรือ โทร. 02-302-7788 เพื่อปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ พร้อมรับแผนประกันที่ตอบโจทย์ในราคาที่คุ้มค่า

รับฟรีโค้ดเติมน้ำมัน

Want us to call you?